วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

Colonial Style (สถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล)



” colonial = colony architecture “
“ สถาปัตยกรรมที่มาจากการเข้าไปยึดครองของฝรั่ง เกิดเป็นการสร้างบ้านแบบฝรั่งผสมกับท้องถิ่นที่เป็นอาณานิคม 



Colony แปลว่า อาณานิคม เมืองขึ้น หรือหัวเมืองประเทศราช
ส่วน Colonial เป็นคำ adjective แปลว่า เกี่ยวกับอาณานิคม ดังนั้นคำว่า Colonial Style จึงหมายถึงศิลปะแบบอาณานิคม  ซึ่งในยุคล่าอาณานิคมมหาอำนาจชาวตะวันตก เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ ได้เข้ามาปลูกสร้างอาคารต่างๆเอาไว้ในเมืองขึ้นของตน สรุปคร่าวๆ ก็คือ Colonial Style เป็นศิลปะแบบตะวันตกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในช่วงล่าอาณานิคม ซึ่งพบเห็นได้ในแถบประเทศเพื่อนบ้านของเรา
แต่สำหรับ “สยาม” เราไม่เคยเป็นอาณานิคมของใคร ถึงกระนั้นสถาปัตยกรรมตะวันตกในยุคนั้นก็เข้ามายังสยามด้วยเหมือนกัน  รูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงมีลักษณะผสมผสาน Colonial style ของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน แต่ละพื้นที่จะได้รับอิทธิพลของช่างพื้นถิ่นเข้าไปผสมอยู่ด้วย







สถาปัตยกรรมรูปแบบโคโลเนียลสไตล์เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เริ่มแพร่ขยายเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5-6  ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นมักจะเรียกกันอย่างติดปากว่า  “ตึกฝรั่ง”
ซึ่งรูปแบบของอาคารแบบโคโลเนียลนั้นจะมีความหลากหลายตามอิทธิพลที่มาจากต่างแหล่งกลุ่มชนกัน  เนื่องจากในเบื้องต้นนั้น รูปแบบโคโลเนียล ก็คือ การนำเอาสถาปัตยกรรมของประเทศแม่ไปก่อสร้างในดินแดนอาณานิคม แล้วจึงค่อยปรับรูปแบบสู่ลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ตามสภาพอากาศในแต่ละพื้นถิ่น  ดังนั้นอาคารรูปแบบนี้จึงสามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า เป็น “สถาปัตยกรรมอาณานิคม ”  ดังตัวอย่างอาคารโคโลเนียลหลายหลังที่ยังคงมีลักษณะของอิทธิพลคลาสสิคอยู่ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มโรแมนติค เช่น อาคารที่มีการประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุ ที่เรียกกันว่า “เรือนขนมปังขิง”   ซึ่งรูปแบบโคโลเนียลนี้ในช่วงแรกได้เข้ามาพร้อมกับกลุ่มมิชชันนารี ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในดินแดนอาณานิคมและดินแดนใกล้เคียง จึงสามารถจัดรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบมัชชันนารี ( Mission Style ) ให้เข้าไว้ในกลุ่มนี้ได้ด้วย



เรามักอนุโลมเรียกบ้านเรือนที่ปลูกสร้างโดยชาวตะวันตกในยุคล่าอาณานิคมว่าเป็น “ศิลปะแบบอาณานิคม” หรือ “อาคารแบบโคโลเนียล” (Colonial Style) ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ด้านหน้าของอาคารชั้นล่างมักทำช่องโค้ง (arch) ต่อเนื่องกันเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดการเดินเท้า ที่ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า “อาเขต” (arcade) หรือที่ภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า “หง่อคาขี่” หมายถึงทางเดินกว้างห้าฟุต
นอกจากอาเขตแล้ว อาคารแบบโคโลเนียลยังอาจนำลวดลายบางอย่างของศิลปะตะวันตกสมัยกรีก โรมัน ที่เรียกว่า “สมัยคลาสสิก” มาใช้ใหม่ เช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้า หรือหัวเสาแบบโยนิก หรือไอโอนิก (แบบม้วนก้นหอย) และคอรินเทียน (มีใบไม้ขนาดใหญ่ประดับ) เป็นต้น ทำให้นักวิชาการบางท่านซึ่งไม่ชอบคำว่าสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล เพราะมีลักษณะของการกดขี่แฝงอยู่ เลี่ยงมาใช้คำว่า “นีโอคลาสสิก”แทน เนื่องจากเป็นคำกลางๆที่ใช้เรียกงานศิลปะซึ่งนำรูปแบบคลาสสิกกลับมาใช้อีกครั้ง




รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลสไตล์ มักมีลักษณะเด่นในการออกแบบรูปทรงอาคารดังนี้
1. รูปทรงอาคารเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมแบบสมมาตร (square and symmetrical shape)
2.มีการเน้นประตูทางเข้าที่กึ่งกลางอาคาร (central door)
3. มีการใช้ชุดเสาสูงเป็นแนวรับชายคากว้าง (colonnade) ป้องกันแดด ลม ฝน และเป็นซุ้ม เพื่อเน้นบริเวณทางเข้า-ออก
4. มีการออกแบบแนวเส้นประตูหน้าต่างของบ้านให้เป็นระเบียบในแนวเดียวกัน ผนังส่วนใหญ่เป็นผนังไม้ตีซ้อนเกล็ด สลับไปกับโครงสร้างปูน อาจประดับตกแต่ง ด้วยบัวปูนปั้นรอบชายคา บัวหัวเสา หรือรอบกรอบหน้าต่าง
5. มีระเบียงโดยรอบ






ตัวอย่างอาคาร Colonial Style ในประเทศไทย


1.ตำหนักริมน้ำ  ธนาคารแห่งประเทศไทย    River Pavilion, Bank of Thailand


ที่ตั้ง  ธนาคารแห่งประเทศไทย  273 ถนนามเสน  เขตพระนคร กรุงเทพฯสถาปนิก/ผู้ออกแบบ  นายเอมิลิโอ โจวานนี กอลโล (Emilio Giovanni Gollo)ผู้ครอบครอง  ธนาคารแห่งประเทศไทย 
ปีที่สร้าง  พ.ศ.2457
      ตำหนักริมน้ำ  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยก่อสร้างยื่นออกไปในแม่น้ำ ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตวังเทวะเวสม์  ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย  ตัวอาคารเป็นเรือนไม้  รูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ออกแบบโดยนายเอมิลิโอ โจวานนี กอลโล (Emilio Giovanni Gollo)  วิศวกรชาวอิตาลี  ผนังตกแต่งด้วยการตีคิ้วไม้แบ่งผนังเป็นช่วงจังหวะ  ตัวเรือนมีหน้าต่างโดยรอบ ด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นระเบียงอยู่หลังช่วงเสาลอยติดตั้งแผงกันแดดเกล็ดไม้โปร่ง รับด้วยไม้ฉลุตกแต่ง  บรรยากาศของเรือนดูโปร่งสบายและกะทัดรัดสวยงาม
     ตามประวัติ  ตำหนักนี้เคยเป็นที่ประทับของพระธิดาพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ  เสนาบดีพระองค์แรกของกระทรวงการต่างประเทศในรัชสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระธิดาพระองค์นี้ประชวรเป็นโรคติดต่อจึงได้จัดให้ประทับที่ตำหนักแยกต่างหาก  หลังจากพระองค์ท่านสิ้นพระชนมม์  เรือนก็ถูกทิ้งร้าง  ต่อมาได้ใช้เป็นทำการกองมาลาเรียของกระทรางสาธารณสุข  จนปี 2539 จึงได้โอนมาเป็นส่วนหนึ่งของ ธนาคารแห่งประเทศไทย  ซึ่งได้ดำเนินการบูรณะเพื่อใช้เป็นเรือนรับรองและจัดเลี้ยงมาจนปัจจุบัน




2. ตำหนักพระองค์หญิงอัพภัณตรีปชา (หอสมุดพรรคชาติไทย) 
 Princess Apphantripacha Residence (Chart Thai Party Library)



ที่ตั้ง  1  ถนนพิชัย  เขตดุสิต กรุงเทพฯ
ผู้ครอบครอง  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ปีที่สร้าง  ช่วงปี พ.ศ. 2440-2470 
      ตำหนักพระองค์หญิงอัพภัณตรีปชา เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนรูปแบบโคโลเนียล  ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงรัชการที่ 6  รัชการที่ 7 ลักษณะเด่นคือรูปทรงอาคารเป็นตึก 2 ชั้น หลังคาปั้นหยา มีการใช้บานเกล็ดไม้ระบายอากาศ มีระเบียงโดยรอบ และมีการตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลายพรรณพฤกษาที่ช่องแสง
เดิมบริเวณที่ตั้งอาคารนี้เป็นอาณาเขตวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอัพภัณตรีปชา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาแส หลังจากที่พระองค์เจ้าหญิงอัพภัณตรีปชาทิวงคต  ก็มีผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินหลายราย และได้เคยใช้พิ้นที่นี้เป็นโรงเรียนขัตติยาณีผดุง  หลังจากนั้นเจ้าของในปัจจุบันคือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ได้ให้พรรคชาติไทยเช่าพื้นที่เป็นที่ทำการพรรค  ซึ่งพรรคชาติไทยก็ได้เล็งเห็นคุณค่าของตำหนักหลังนี้  จึงได้ทำการอนุรักษ์อาคาร  โดยบูรณะและปรับปรุงการใช้สอยอาคารเป็นห้องสมุด และที่รับรองแขกระดับสูงของผู้บริหารพรรค

3. เรือนภะรตราชา (Pharotracha House) 



ที่ตั้ง  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝั่งสำนักงานอธิการบดี)  ถนนพญาไท  เขตปทุมวัน  กรุงเทพฯผู้ครอบครอง  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีที่สร้าง  ปี พ.ศ. 2460  2472 
      เรือนภะรตราชาเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้นครึ่ง ใต้ถุนโล่ง รูปแบบสภาปัตยกรรมโคโลเนียล  ลักษณะเด่นคือมีหอสูง หลังคาทรงมะนิลา ประดับไม้ฉลุตกแต่งที่เชิงชาย ราวบันได และราวระเบียง     เมื่อแรกสร้างในสมัยรัชการที่ 6 นั้น เรือนภะรตราชาได้ใช้เป็นบ้านพักของผู้บริหาร อาจารย์ชาวต่างประเทศ และข้าราชการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบัยอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นที่ทำการของหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เมื่ออาคารชำรุดทรุดโทรมลง ทางมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการอนุรักษ์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานและเป็นการรำลึกถึงพระยาภะรตราชา (ม.ล. ทศทิศ อิศรเสนา) อดีตผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2472  2495 ผู้เคยพำนักในเรือนนี้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รียนรู้สภาพความเป็นอยู่ของชนรุ่นก่อน รวมทั้งเป็นสถานศึกษาทางศิลปวัฒนธรรมของไทยสืบไป นอกจากนี้ ยังใช้เป็นที่ทำการของ ภูมิเมธีสโมสร คือสถานที่ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ เช่น การประชุม สัมมนา การจัดเลี้ยงรับรอง และจัดนิทรรศการ

4. โบสถ์และสำนักแม่ชีอุรสุลิน โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
(Ursulin Church and Convent, Mater Dei School)



 ที่ตั้ง  โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ถนนเพลินจิต  แขวงลุมพินี  เขตปทุมวัน กรุงเทพฯผู้ครอบครอง  โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
ปีที่สร้าง  ก่อน พ.ศ. 2469  
       โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2469  โดยคุณแม่มารี เบอร์นาร์ด มองแซล ส่วนโบราณสถานสำคัญในบริเวณโรงเรียน คือ โบสถ์และสำนักแม่ชีอุรสุลินนั้น ได้ตั้งอยู่ในที่ดินก่อนแล้วและไม่ทราบประวัติการก่อสร้างหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าของเดิมของอาคารแต่อย่างใด
     อย่างไรก็ดี รูปแบบของอาคารก็มีคุณค่าในตัวเอง โดยลักษณะสถาปัตยกรรมแบบดัทช์โคโลเนียล เป็นอาคารไม้หลังคาจั่ว ช่วงกลางเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น และปีกซ้ายเป็นหอคอยสูง 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง ที่พิเศษคือหลังคาหอคอยด้านซ้ายมุงกระเบื้องเป็นลวดลายรูปไม้กางเขน หน้าจั่วตกแต่งด้วยไม้ฉลุ     อาคารนี้นับเป็นอาคารหลังแรกของโรงเรียนที่เคยใช้บางส่วนเป็นห้องนอนนักเรียนประจำ  ปัจจุบันใช้เป็นโบสถ์ เป็นที่พักอาศัยของแม่ชี เป็นห้องพยาบาล และเป็นพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ และทรงเคยเป็นนักเรียนที่โรงเรียนนี้ในปี พ.ศ. 2475

5. สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์   (The Dutch Embassy Residence) ที่ตั้ง  106  ถนนวิทยุ  กรุงเทพฯ ผู้ครอบครอง  สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์
ปีที่สร้าง  ช่วง พ.ศ. 2438  2443 
  
DSC00888.jpg picture by dollygirlohlalove
  
   บ้านพักเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล ตัวอาคาร 2 ชั้น หลังคาจั่ว  และมีส่วนหนึ่งเป็นหอคอยสูง 3 ชั้นลักษณะเด่นคือหลังคาที่มีการซ้อนชั้นขึ้นไปในส่วนหอคอย และการตกแต่งด้วยไม้แกะสลักและเสาประดับที่ยอดจั่ว     บ้านหลังนี้เคยเป็นบ้านของนายแพทย์อัลฟองส์ ปัวส์ แพทย์หลวงชาวฝรังเศส ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาใน พ.ศ. 2456 ดร.ปัวส์ได้ย้ายไป พระองค์เจ้าบวรเดชจึงทรงเป็นเจ้าของสืบต่อมา หลังจากนั้นในปี 2476 พระองค์เจ้าบวรเดชได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศแต่บ้านยังสืบทอดมาในสายตระกูลของท่านและเคยใช้เป็นที่อยู่ของบาทหลวงคาทอลิก  เป็นที่ตั้งสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษ  และที่อยู่ของทหารอังกฤษในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2
     หลังสงคราม รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ซื้อบ้านหลังนี้ในปี พ.ศ. 2491  เพื่อใช้เป็นบ้านพักเอกอัครราชทูต และเป็นที่ทำการสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านั้นมีเพียงสถานกงสุลมาตลอด

6.  บ้านพักเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา  (American Embassy Residence) 
DSC00889.jpg picture by dollygirlohlalove

ที่ตั้ง  ถนนวิทยุ  กรุงเทพฯสถาปนิก/ผู้ออกแบบ   นายโฮราทิโอ วิคเตอร์ เบลี (Horatio victor Baily)ผู้ครอบครอง  สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ปีที่สร้าง  พ.ศ. 2457   

       บ้านพักเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา  เป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล  โครงสร้างไม้ยกใต้ถุนสูง โถงรับแขกด้านหน้าเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ มีหน้าต่างรอบเพื่อการระบายอากาศและเปิดมุมมองไปยังสวนด้านหน้า เพดานสูง  ตกแต่งช่องระบายอากาศเหนือหน้าต่างด้วยไม้ฉลุ     บ้านหลังนี้แต่เดิมเป็นบ้านพักอาศัยของนายโฮราทิโอ วิคเตอร์ เบลี วิศวกรชาวอังกฤษที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัท  สยามมอเตอร์เวิร์กส์  จำกัด  หลักฐานบางแห่งกล่าวว่านายเบลีได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งเป็นพระปฏิบัติราชประสงค์  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว     นายเบลีถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2463  จากนั้นในช่วงปี 2465  2470 บ้านหลังนี้ได้ใช้เป็นที่ทำการสถานทูตเบลเยี่ยม และใน พ.ศ. 2469  รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลังได้ซื้อบ้านหลังนี้  จากนั้นได้โอนมาให้กระทรวงการต่างประเทศใช้เป็นบ้านพักที่ปรึกษาชาวอเมริกันของรัฐมนตรีว่าการ  คือนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์
     ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นใช้บ้านนี้เป็นคลังเก็บอาวุธและน้ำมัน หลังสงครามบ้านก็ถูกทิ้งร้างจนมีสภาพทรุดโทรมมาก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2489 จึงได้ใช้เป็นบ้านพักของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา  คือ นายเอ็ดวิน เอฟ. สแตนตัน และภริยา ผู้ซึ่งดำเนินการบูรณะตัวอาคารและบริเวณจนมีสภาพสวยงามดังเดิม  บ้านหลังนี้จึงได้ใช้เป็นที่พำนักของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกามาจนปัจจุบัน

7.  สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ (British Embassy)

DSC00892.jpg picture by dollygirlohlalove
  

ที่ตั้ง  ถนนวิทยุ  กรุงเทพฯสถาปนิก/ผู้ออกแบบ  นายวิลเลียม อัลเฟรด เร วูด (William Alfred Rae Wood)ผู้ครอบครอง  สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ
ปีที่สร้าง  พ.ศ. 2469   


     สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ  ตั้งอยู่ ณ ถนนวิทยุ บนที่ดินที่สถานกงสุลอังกฤษได้ซื้อจากนายเลิศ (พระยาภักดีนรเศรษฐ)  เมื่อปี พ.ศ 2465  จากนั้นก็ได้ดำเนินการออกแบบอาคารโดย นาย ดับเบิลยู. เอ. อาร์. วูด  รองกงสุล เป็นผู้วางแนวทางในการออกแบบ และ The British Ministry of Worksประเทศอังกฤษ ออกแบบและรายละเอียด     การก่อสร้างอาคารเริ่มในปี 2466 แล้วเสร็จในปี 2469  ในสมัยที่เซอร์ โรเบิร์ต เกรก เป็นกงสุลใหญ่ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมโคโลเนียลผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขกลาง ที่จั่วมุกกลางประดับตราแผ่นดินอังกฤษ ออกแบบโดยเน้นความโปร่งสบายด้วยหน้าต่างและช่องระบายอากาศ การตกแต่งเป็นปูนปั้น และไม้ฉลุ ภาพรวมดูสง่างาม มั่นคง และภูมิฐาน อาคารนี้ชั้นล่างใช้เป็นที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต ชั้นบนเป็นบ้านพักเอกอัครราชทูต  ซึ่งเป็นการใช้สอยที่สืบเนื่องมาตลอดตั้งแต่แรกสร้างอาคาร

8. บ้านพักเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส  (French Embassy Residence)


 

ที่ตั้ง  ซอยโรงภาษี  ถนนเจริญกรุง  กรุงเทพฯ ผู้ครอบครอง  สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสปีที่สร้าง  ช่วงรัชการที่ 4          บ้านพักเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส  เป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารโครงสร้างไม้สูง 3 ชั้น มีมุขหน้า สูง 2 ชั้นและมีบันได้ทางขึ้นจากภายนอกทาง 2 ปีกของมุข ที่จั่วมุขประดับอักษรย่อ fr หมายถึงFranace (ประเทศฝรั่งเศส)  ชายคาตกแต่งด้วยลูกไม้และไม้แกะสลักค่อนข้างเรียบง่าย  ดูโปร่งสบายด้วยระเบียงที่มีอยู่ทุกชั้น  รูปทรงและรายละเอียดต่างๆ ทำให้อาคารดูเป็นกันเองและน่าอยู่      ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับเวลาก่อสร้างอาคารที่แน่นอน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 ราว พ.ศ. 2400  บ้านหลังนี้ก็เป็นที่อยู่ของกงสุลฝรั่งเศสอยู่แล้ว สันนิษฐานว่าอาจเป็นบ้านหลวงที่อนุญาตให้กงสุลพักและต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานบ้านและที่ดินให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2418
     แต่เดิมบ้านนี้ใช้เป็นทั้งที่ทำการสถานทูต และบ้านพักเอกอัครราชทูต  แต่เมื่อที่ทำการสถานทูตย้ายไปอยู่ที่อาคารใหม่ บ้านนี้จึงใช้เป็นบ้านพักเพียงอย่างเดียว และได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงปี 2502  2511 และต่อมาได้มีการปรับปรุงการตกแต่งภายในให้มีรูปแบบที่ทันสมัยแปลกไปจากเดิม


9. 
 บ้านพักเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ( Portuguese Embassy Residence )

DSC00896.jpg picture by dollygirlohlalove  

ที่ตั้ง  ซอยกัปตันบุช  ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯสถาปนิก/ผู้ออกแบบ  นายช่างจากประเทศโปรตุเกสผุ้ครอบครอง  สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทยปีที่สร้าง  พ.ศ. 2403         บ้านพักเอกอัครราชทูตโปรตุเกสเป็นอาคาร 2 ชั้น สถาปัตยกรรมโคโลเนียล  หลังคาทรงปั้นหยา มีมุขทางเข้า หลังคาจั่วอยู่กึ่งกลางด้านหน้า อันแสดงถึงอิทธิพลของรูปแบบนีโอปัลลาเดียน หน้าจั่วประดับตราแผ่นดินของประเทศโปรตุเกส  ซุ้มทางเข้าชั้นล่างและซุ้มหน้าต่างชั้นบนของมุขทางเข้านี้ทำเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน 3 ซุ้ม แต่ละซุ้มคั่นด้วยเสาอิง ภายในอาคารชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ ชั้นบนมีระเบียงยาวตลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทางเข้าประดับกระเบื้องเซรามิกลายครามจากโปรตุเกส     นับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โปรตุเกสเป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยอีกครั้งโดยในปี พ.ศ. 2363 ผู้สำเร็จราชการแห่งเมืองกัว ประเทศอินเดีย ได้แต่งตั้งคาร์โลส มานูเอล เดอ ซิลไวรา เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานบ้านเดิมขององเชียงสือ กษัตริย์ญวนที่ลี้ภัยการเมืองมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินข้างชุมชนชาวโปรตุเกสให้ตั้งเป็นสถานกงสุล นับเป็นสถานกงสุลของชาติตะวันตกที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ


10. บ้านเลขที่ 139 ซอยเทียนเซี้ยง No. 139 Soi Thian Siang


DSC00898.jpg picture by dollygirlohlalove

 ที่ตั้ง  139 ซอยเทียนเซี้ยง (สาทร 7) ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯผู้ครอบครอง  นายเกษม 
 จาติกวณิช  ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453   บ้านคุณเกษม จาติกวณิช เป็นบ้านไม้สักทั้งหลัง รูปแบบสถาปัตยกรรม สามารถจัดเข้ากลุ่มโคโลเนียล ดำ-ขาว (Black and White House) คือแบบที่ผสมผสานลักษณะพื้นถิ่นเข้ากับสถาปัตยกรรม half-timber ของอังกฤษ โดยใช้โครงไม้สีดำเป็นกรอบของผนังสีขาวแทนส่วนที่เป็นผนังฉาบปูน หลังคามะนิลา หน้าต่างเป็นบานเกล็ดไม้ ลักษณะโดยรวมเรียบง่าย     บ้านหลังนี้ได้สร้างขึ้นด้วยไม้สักทองทั้งหลังที่คุณพระโลหะ (พระยาพิษณุแสน) ซื้อเลหลังมาจากบริษัท บอมเบย์เบอร์มา  เพื่อสร้างเป็นที่พักอาศัยในราว พ.ศ. 2453 ต่อมาได้ขายบ้านหลังนี้ให้กับพระยาอธิกรณ์ประกาศ บิดาของคุณเกษม จาติกวณิช และได้ต่อเติมเฉลียงในช่วงนั้น ส่วนหลังคาบ้านเดิมเป็นก
ระเบื้องว่าว แต่ในคราวซ่อมแซมบ้านปี 2533ได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องลอน



11. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครลำปาง (พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย)
Commercial Bank Plc, Lampang Branch (Thai Bank Museum)




 
ที่ตั้ง  ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง  ผู้ครอบครอง  ธนาคารไทยพาณิชย์  จำกัด (มหาชน) ปีที่สร้าง  พ.ศ. 2473  
      ธนาคารไทยพาณิชย์  สาขานครลำปาง  ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยนั้นเป็นอาคาร 2 ชั้น สถาปัตยกรรมโคโลเนียล ลักษณะเด่นคือมีมุขยื่นด้านหน้ารับด้วยเสาลอยและพื้นที่ชั้นล่างเคยเป็นที่ทำการธนาคาร ส่วนชั้นบนเป็นที่พักของผู้จัดการสาขา  โดยแบ่งพื้นที่ให้มีผนังเกล็ดไม้โดยรอบเพื่อช่วยในการระบายอากาศและมีระเบียงรอบ     สถานที่นี้มีความสำคัญในฐานะที่เป็นธนาคารแห่งแรกในจังหวัดลำปาง และเป็นธนาคารแบงค์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด (ปัจจุบันคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  สาขาที่ 3 ในประเทศไทย  ต่อจากสาขาทุ่งสงและสาขาเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยดำริของคณะกรรมการธนาคารดังกล่าว  ซึ่งมีพระยาไชยยศสมบัติเป็นกรรมการ ได้เล็งเห็นว่านครลำปางมีความเจริญรุ่งเรืองทางธุรกิจทั้งด้านการค้าและการป่าไม้ แต่ขาดแคลนเงินบาทและเงินเหรียญไทย  ประชาชนต้องใช้เงินรูปีของพม่าซึ่งอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษ  ทำให้เกิดการเสียดุล  ธนาคารจึงได้ก่อสร้างที่ทำการสาขานครบำปางเมื่อปี พ.ศ.2473 เป็นที่ทำการมาโดยตลอด  นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่พักของอดีตผู้จัดการสาขา  บางท่านเป็นผู้ใหญ่ที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช  ศิลปินแห่งชาติ  สาขาวรรณศิลป์  ก็พักที่นี่ระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลำปาง     ในปี พ.ศ. 2540  ธนาคารได้ก่อสร้างที่ทำการใหม่ในบริเวณด้านข้างของอาคาร  ส่วนอาคารนี้ก็ได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย  มีการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเงิน การธนาคาร จำลองห้องทำงานธนาคาร ห้องพักผู้จัดการในอดีต  และโดยเฉพาะตัวอาคารเอง ก็เป็นอาคารประวัติศาสตร์



12. หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่  Chiang Mai Hall of Art and Culture


 DSC00901.jpg picture by dollygirlohlalove

ที่ตั้ง  ถนนพระปกเกล้า  ตำบลศรีภูมิ  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ผู้ครอบครอง  เทศบาลนครเชียงใหม่ปีที่สร้าง  พ.ศ. 2467  

หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นสะดือเมืองครั้งสมัยพญามังราย และเป็นที่ตั้งของเสาอินทขิล ก่อนที่พระเจ้าติโลกราชจะโปรดให้ย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวงต่อมาในสมัยเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ได้ย้ายหอคำมา ณ ที่นี้ เรียกว่า คุ้มกลางเวียง เมื่อเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัย  หอคำและที่ดินจึงตกแก่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี  ซึ่งต่อมาได้ประทานให้เป็นศาลารัฐบาลหรือที่ทำการรัฐบาลเคยใช้เป็นศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลพายัพ และศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ตามลำดับจนศาลากลางย้ายไปในปี 2539  ต่อมาในปี พ.ศ. 2540  เทศบาลนครเชียงใหม่ได้เข้ามาปรับปรุงเพื่อใช้เป็นหอศิลปวัฒนธรรม     ตัวอาคารก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2467 เป็นอาคารแบบโคโลเนียล  ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมลานโล่ง 2 ลาน  ทางด้านหน้าและลานใหญ่ทางด้านหลัง ทางเข้าอยู่กึ่งกลางด้านหน้า ภายใต้ส่วนที่เป็นระเบียงยื่นจากชั้นบน เหนือระเบียงนี้เป็นมุขหลังคาจั่วอิทธิพลนีโอปัลลาเดียน  หน้าจั่วประดับตราครุฑ  อันสืบเนื่องมาจากการที่อาคารนี้เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัด  หลังคามุงกระเบื้องว่าว  ภายในอาคารส่วนที่ล้อมลานโล่งทำระเบียงรองทั้ง 2 ชั้น ตัวอาคารตกแต่งด้วยคิ้วบัวปูนปั้น และราวลูกกรงปูนปั้นแบบเรียบง่าย  แต่ดูสง่างาม ภูมิฐาน     หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ก่อนก่อตั้งเมืองจนถึงปัจจุบัน  การนำเสนอทันสมัยน่าสนใจ  นับเป็นการประยุกต์ใช้อาคารประวัติศาสตร์ที่ดีได้อีกรูปแบบหนึ่ง

13. บ้านแฮรีส โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
Harris House, Prince Royal’s College

 DSC00903.jpg picture by dollygirlohlalove

ที่ตั้ง   โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย  ถนนแก้วนวรัฐ  ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง   จังหวัดเชียงใหม่ผู้ครอบครอง  โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยปีที่สร้าง พ.ศ. 2447      
โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย มีกำเนิดมาจากโรงเรียนชายวังสิงห์ดำ  ซึ่งเป็นโรงเรียนชายแห่งแรกในนครเชียงใหม่ ก่อตั้งโดย ดร.เดวิด กอร์ม เลย์ คอลลินส์  มิชชันนารีคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียน ใน พ.ศ. 2430 หลังจากนั้น ดร.วิลเลียม แฮรีส ได้มารับตำแหน่งครูใหญ่ต่อจาก ดร.คอลลินส์ ในปี พ.ศ. 2442      พ่อครู ดร.วิลเลียมและแม่ครูคอร์นีเลีย แฮรีส  ภรรยาของท่าน  เห็นว่าโรงเรียนเดิมคับแคบ จึงได้เรี่ยไรเงินเพื่อซื้อที่ดินและก่อสร้างโรงเรียนใหม่ขึ้น รวมทั้งก่อสร้างบ้านแฮรีส  ในปี พ.ศ. 2447 บ้านแฮรีสเป็นสถาปัตยกรรมแบบเฟรนช์ โคโลเนียล ทางโรงเรียนกล่าวว่าได้แบบอย่างมาจากแคลฟอร์เนีย ตัวอาคาร 2 ชั้น โครงสร้างไม้ หลังคาปั้นหยามีมุขประดับ ( dormer) มีระเบียงรอบทั้งชั้นบนและชั้นล่าง  การใช้สอยเดิมนั้น ชั้นล่างเป็นห้องอำนวยการและห้องพักครู ชั้นบนเป็นที่พักอาศัย     บ้านหลังนี้ได้ใช้เป็นสถานที่รับเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฏราชกุมาร ในคราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพและวางศิลาฤกษ์ อาคารบัทเลอร์ ตึกเรียนหลังแรกเมื่อวันที่ 2มกราคม พ.ศ. 2448 โอกาสนั้นได้ทรงพระราชทานนามแก่โรงเรียนว่า “โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย”


14. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี  Ubon Ratchathani National Museum


 DSC00907.jpg picture by dollygirlohlalove 

ที่ตั้ง  318 ถนนเขื่อนธานี ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานีผู้ครอบครอง  กรมศิลปากร  ปี่ที่สร้าง  พ.ศ. 2461            
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นสถาบันด้านการอนุรักษ์ จัดแสดงและเผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น     อาคารพิพิธภัณฑ์นี้เดิมเป็นศาลากลางจังหวัด ก่อสร้างขึ้นเมือ พ.ศ.2461รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัวอาคารเป็นแบบโคโลเนียลที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบนีโอปัลลาเดียน เป็นอาคารชั้นเดียว หลังคาปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว หันหน้าทางทิศเหนือ คือหันเข้าหาทุ่งศรีเมืองเน้นทางเข้าที่มุขด้านหน้าซึ่งมีแผงประดับรูปโค้งตกแต่งด้วยปูนปั้นมีตัวอักษรปูนปั้นเขียนว่า “ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี” และมีครุฑประดับที่ส่วนยอด     ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ศาลากลางจังหวัดนี้ก็คับแคบไม่พอเพียงต่อการใช้สอยทางจังหวัดจึงได้ก่อสร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้น ณ ด้านตะวันตกของทุ่งศรีเมือง และย้ายที่ทำการไปเมื่อ พ.ศ. 2511 ศาลากลางเก่าจึงได้ใช้เป็นที่ทำการหน่วยงานราชการอื่นๆ จนถึงพ.ศ.2526 นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบอาคารศาลากลางเก่านี้แก่กรมศิลปากร เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัด และได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2532 

15. โฮเต็ล เซ็นทรัล หัวหิน
Hotel Central Hua Hin


 
DSC00909.jpg picture by dollygirlohlalove

 ที่ตั้ง  เลขที่ 1 ถนนดำเนินสะดวก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์สถาปนิก/ผู้ออกแบบ  นาย เอ. รีกาซซี ( A. Rigazzi)ผู้ครอบครอง  การรถไฟแห่งประเทศไทย ปีที่สร้าง พ.ศ. 2466  ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ.2537      โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน เดิมชื่อ  โฮเต็ลหัวหิน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยการรถไฟหลวง รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังคามุงกระเบื้องว่าวสีแดง เมื่อแรกสร้างมีห้องพัก 14 ห้อง ก่อสร้างอย่างหรูหราไม่แพ้โรงแรมชั้นหนึ่งในเมืองกรุง สิ่งของเครื่องใช้บางอย่างส่งตรงมาจากยุโรป ประทับตราการรถไฟอย่างเลิศหรู ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของโรงแรมนี้คือ เน้นการใช้ใม้ในตัวอาคาร เช่น ราวระเบียงเป็นไม้ทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นเสาไม้หุ้มปูน เน้นรูปทรงหลังคาปั้นหยาเห็นผืนหลังคาชัดเจน มีทางเดินและระเบียงกว้างขวางมีหลังคาคลุม ทั้งนี้คือการประยุกต์สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกให้เข้ากับภูมิอากาศของประเทศไทย     หัวหินในอดีต เคยเป็นสถานที่พักตากอากาศที่หรูหราและเป็นที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้การรถไฟหลวงจัดสร้างโรงแรมที่พักที่หรูหราตามอย่างโรงแรมในยุโรป เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนชายทะเล และเป็นที่รักษาสุขภาพของพระบรมวงศานุวงศ์ ชาวต่างประเทศ และคหบดี โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการรถไฟหลวง เป็นองค์อำนวยการสร้าง นาย เอ. รีกาซซี  สถาปนิกชาวอิตาลีของการรถไฟหลวง เป็นผู้ออกแบบ     อาคารนี้ได้มีการใช้สอยมาโดยตลอด ดังนั้น รูปลักษณ์ดั้งเดิมของอาคารจึงได้รับการดัดแปลงไปบ้าง อย่างไรก็ดี เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการใน พ.ศ. 2529 ก็ได้กำหนด
ให้อนุรักษ์อาคารและสวนไม้ดัดไว้ เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์ของโรงแรมรถไฟแห่งนี้







นาย ศิวกร ศิวะพรชัย รหัส 54020077






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น